สัมภาษณ์กู้ยืมกยศ.ปี2567 (รอบที่3)


1 - 5 มิ.ย. 2567


NPRU.ac.th

Welcome to

สัมภาษณ์ขอยื่นกู้ กยศ. ปีการศึกษา 2567

เข้ารับการสัมภาษณ์ขอยื่นกู้กยศ. ปีการศึกษา 2567 รอบที่ 1 วันที่ 04 - 13 พ.ค. 2567
เข้ารับการสัมภาษณ์ขอยื่นกู้กยศ. ปีการศึกษา 2567 รอบที่ 2 วันที่ 14 - 19 พ.ค. 2567
เข้ารับการสัมภาษณ์ขอยื่นกู้กยศ. ปีการศึกษา 2567 รอบที่ 3 วันที่ 1 - 5 พ.ค. 2567

กยศ. ม.ราชภัฏนครปฐม

รายงานจำนวนข้อมูลนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และภาพรวมการกู้ยืมทั้งหมด ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ.

จำนวน นักศึกษาของมหาวิทยาลัย ทั้งภาคปกติ และกศ.พป. ทั้งหมด

จำนวน ผู้กู้ กยศ. ทั้งหมด ทั้งภาคปกติ และกศ.พป. ทุกชั้นปี

จำนวน ผู้กู้รายใหม่ของมหาวิทยาลัย ทั้งภาคปกติ และกศ.พป.

จำนวน เจ้าหน้าที่ กยศ. ที่ดูแลผู้กู้ กยศ.

เอกสาร

หลังจากเข้ารับการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่ ให้ดำเนินการเตรียมเอกสารให้ถูกต้อง

เอกสารดังต่อไปนี้ เป็นเอกสารที่นักศึกษาผู้กู้ยืม กยศ. จะต้องใช้ยื่นกู้ กับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เฉพาะกลุ่มนักศึกษารายใหม่ที่เข้าศึกษาและได้รับการงานตัวเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่านักศึกษาจะเคยหรือไม่เคยเป็นผู้กู้มาก่อนก็ตาม รวมถึงนักศึกษาที่เริ่มกู้ครั้งแรกกับมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 2-5 รวมถึงบุคคลที่เคยหยุดกู้ยืมมาจากสถาบันการศึกษา.



ข้อบังคับแนวปฏบิติ ในการจัดเตรียมเอกสาร.


- ผู้กู้ยืมต้องเตรียมเอกสารเพื่อทำการ Upload ในระบบ DSL ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เห็นรายละเอียดชัดเจนโดยสามารถใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพเอกสารแทนการสแกนเอกสารได้ ถ่ายภาพ/สแกนไฟล์ให้ ชัดเจน และเป็น แนวตั้งเท่านั้น เอกสารต้องชัดเจน สมบูรณ์ อ่านออก ไม่เบลอ ไม่ดำ ฯลฯ ห้ามทำเอกสารต้นฉบับหาย! เนื่องจากต้องนำส่งสถานศึกษาในวันนัดส่ง
- ระบบรองรับไฟล์สกุล PDF / JPEG / GIF / TIFF / PNG ขนาดไม่เกิน 10 MB
- ชื่อเจ้าของเอกสารต้องเป็นบุคคลเดียวกันกับที่จะบันทึกในระบบ
- ใช้ปากกาสีน้ำเงินในการกรอกและลงนามเอกสารเท่านั้นห้ามลบ ห้ามขีดทับ ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิดให้ปริ้นออกมาแล้วเขียนใหม่เท่านั้น
- การลงนาม เจ้าของเอกสารต้องลงนามให้เหมือนกัน ตรงกันทุกฉบับเจ้าของเอกสารต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน และลงลายมือชื่อด้วยตนเองเท่านั้นห้ามพิมพ์ชื่อ หรือให้บุคคลอื่นลงลายมือชื่อแทน

1.หนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล

(ขั้นตอนการยื่นคำขอกู้ยืม กรณีผู้กู้ยืมที่ทำสัญญากู้ยืมเงินใหม่เท่านั้น)

ดาวน์โหลด: DOWNLOAD

  • หลังผ่านการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่
  • กรณีได้เอกสารจากเจ้าหน้าที่แล้วไม่ต้องปริ้นเอกสารนี้
  • กรณีไม่มีเอกสารให้สั่งพิมพ์หนังสือให้ความยินยอมฯดังกล่าว
  • สั่งพิมพ์ตามจำนวนของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนรวมตัวผู้ขอกู้ยืมด้วย คนละ 1 ฉบับ
  • กรอกข้อมูลด้วยลายมือตัวบรรจง
  • นักศึกษากรอกแทนได้
  • ลงลายมือชื่อรับรอง โดยเจ้าของเอกสารเป็นผู้ลงนามด้วยตนเองเท่านั้น

2.สำเนาบัตรประชาชน

ใช้เป็นสำเนาเท่านั้น สี หรือ ขาวดำ ก็ได้

ถ่ายเฉพาะด้านหน้าบัตร หรือ ทั้งสองด้าน ก็ได้

ถ่ายเอกสารให้คมชัด ไม่ซีดไม่จางจนอ่านไม่ออก

  • ถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนรวมตัวผู้ขอกู้ยืมด้วย คนละ 1 ฉบับ
  • ตรวจสอบวันหมดอายุของบัตรประจำตัวประชาชนของทุกคน ต้องไม่หมดอายุ
  • เจ้าของบัตรลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น
  • หมายเหตุ & สำคัญ

    กรณีดังนี้

    หมายเหตุ กรณีผู้เกี่ยวข้องสำเนาถูกต้องแต่เขียนหนังสือไม่ได้ ให้ปั้มลายนิ้วมือหัวแม่มือขวาลงในสำเนา ให้ผู้กู้วงเล็บและเขียนชื่อนามสกุลของผู้ประทับลายนิ้วมือ ด้วยตัวบรรจงในวงเล็บนั้น และหาพยาน2คนที่มิใช่คนในครอบครัวเซ็นรับรองลายมือชื่อ เป็นอันเรียบร้อย

    หมายเหตุ กรณีมีใบหย่าของบิดาหรือมารดาให้สำเนาโดยผู้กู้ หรือบิดา หรือมารดา ที่น้องอาศัยอยู่ด้วย

    หมายเหตุ กรณีลงนามในแบบฟอร์มต่างๆ แต่เขียนหนังสือไม่ได้ ให้ปั้มลายนิ้วมือหัวแม่มือขวาลงในตำแหน่งที่ให้ลงนามเพียงอย่างเดียว หากมีวงเล็บให้ผู้กู้วงเล็บและเขียนชื่อนามสกุลของผู้ประทับลายนิ้วมือ ด้วยตัวบรรจงในวงเล็บนั้น เป็นอันเรียบร้อย

    3.หลักฐานรับรองรายได้ครอบครัวฯ

    กรณีที่อาชีพบิดามารดาหรือผู้ปกครองมีงานทำประจำ

    ในลักษณะรายเดือน รายสัปดาห์ หรือโอนเงินเดือน

    ติดต่อนายจ้างเพื่อขอเอกสารดังกล่าว

    • ต้องแนบสลิปเงินเดือนจาก/หน่วยงาน/โรงงาน/องค์กรนายจ้าง ย้อนหลัง3เดือน
    • หรือหนังสือรับรองเงินเดือนจากหน่วงานรัฐ/เอกชน นับตั้งแต่วันที่ออกเอกสาร ถึงปัจจุบันต้องไม่เกิน 90 วัน
    • หรือ Statement ย้อนหลัง 3 เดือน จากบัญชีที่ได้ใช้ในการรับเงินเดือน

    กรณีที่อาชีพบิดามารดาหรือผู้ปกครองมีรายได้ ที่ไม่ประจำ

    กยศ. 102 หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้กู้ยืมเงิน (กยศ.)

    ดาวน์โหลด: DOWNLOAD

    • ผู้กู้ต้องให้ผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้รับรอง ลงในเอกสารที่มีให้ดาวน์โหลด เรียกว่า กยศ.102
    • สั่งพิมพ์เอกสารรับรองรายได้ครอบครัว กยศ.102 รับรองรายได้ของบิดา/มารดา (หากบิดามารดามีรายได้ไม่ประจำทั้งคู่สามารถใช้ใบเดียวกันได้)
    • ผู้กู้ยืมสามารถกรอกข้อมูลต่างๆ ลงในเอกสาร กยศ.102 แล้วให้ผู้รับรองรายได้ลงนามกำกับ
    • ขอสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าที่ของรัฐจากผู้รับรองฯที่มีทั้งสองด้านของบัตร ตรวจสอบวันหมดอายุบัตร จากนั้นให้ผู้รับรองรายได้ลงนามสำเนาถูกต้อง
    • เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่เกี่ยวพันธ์เป็นเครือญาติกับผู้กู้

    4.ใบเกรด / จิตอาสา

    ใบเกรด

    • ใบเกรด 6 เทอม สำหรับนักศึกษาเข้าใหม่ปี 1
    • ใบเกรดปีก่อนหน้า สำหรับนักศึกษาปี 2-5
    • ถ่ายสำเนาและรับรองสำเนาถูกต้อง

    จิตอาสา

    ไม่จำกัดชั่วโมงกิจกรรมในปีการศึกษาก่อนหน้า

    ดาวน์โหลด: DOWNLOAD

    • หากไม่มี ไม่เคยทำ ให้ดาวน์โหลดเอกสารแล้วลงมือทำ

    APP กยศ. Connect

    หลังจากที่ผู้กู้เตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ให้กรอกข้อมูลลงระบบ โดยการกรอกข้อมูลนั้น จำเป็นบันทึกผ่านระบบ DSL หรือบันทึกผ่าน App กยศ.Connect ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้กู้ยังไม่เคยสมัครสมาชิกต้องสมัครสมาชิกก่อน สามารถทำผ่าน Web Browser : GOOGLE Chrome หรือ Application ก็ได้ทั้ง 2 ช่องทาง

    • ทั้งหมด
    • สมัคร
    • บันทึก
    • ยกเลิกคำขอ

    ติดต่อเจ้าหน้าที่

    สถานที่ปฏิบัติการ หน่วยงาน กยศ.

    ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชื่อ อาคารกิจการนักศึกษา ชั้น 1 ตรงข้ามกับหน่วยพยาบาลชุมชน รพ.นครปฐม

    Frequently Asked Questions


    : คำถามที่พบบ่อย
    คำถามทั่วไป
    1. กู้ กยศ. ปี 2567 หมดเขตยื่นเรื่องหรือยัง?

    ขณะนี้มหาวิทยาลัยเปิดให้กู้ยืมปกติ.

    2. การรับรองรายได้ครอบครัวต้องทำอย่างไร

    1. กรณีมีรายได้ประจำ ใช้สลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือนจากหน่วยงาน (ผู้มีอำนาจของหน่วยงานลงนาม) การกรอกรายได้ต้องระบุให้ตรงกับหลักฐานที่แนบและตรงกับข้อมูลที่บันทึกในระบบ.

    2. กรณีไม่มีรายได้ประจำ ใช้แบบฟอร์ม กยศ. 102
    - การกรอกรายได้ต้องระบุข้อมูลให้ตรงกับหนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (กยศ.102) และข้อมูลที่บันทึกในระบบ
    - สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการ/เอกสารอื่นใดรับรองว่าเป็นข้าราชการจากหน่วยงานที่ผู้รับรองได้สังกัด เจ้าของบัตรลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น.

    3. ผู้กู้ยืมจะติดตามเรื่องการโอนเงินค่าครองชีพด้วยตนเองได้อย่างไร?

    ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบสถานะการโอนเงินของตนเองได้ ดังนี้

    1. เว็บไซต์ของกองทุน ตรวจสอบยอดหนี้ https://wsa.dsl.studentloan.or.th/

    2. ช่องทางออนไลน์ Mobile Application "กยศ. Connect" .

    การกู้ยืม

    การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยสถานศึกษา
    สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี หรือจบการศึกษา สถานศึกษาต้องรายงานสถานภาพ ตามจริง
    โดยระบบจะมีให้สถานศึกษารายงาน เช่น ศึกษาต่อในสถานศึกษานั้นๆ ผู้กู้ยืมรายเก่าเลื่อนชั้นปีที่ได้รับอนุมัติ
    ให้กู้ยืมเงินในสถานศึกษาปัจจุบัน สำเร็จการศึกษา ลาออก ให้ออก

    การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยผู้กู้
    สำหรับผู้กู้ที่ต้องรายงานจะเกิดจาก กรณีดังนี้
    กรณีที่ 1 ผู้กู้ยืมเงินมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี เช่น ย้ายสถานศึกษา หรือ ไม่กู้ยืมเงินต่อ
    กรณีที่ 2 ผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน

    ดังนั้น เพื่อรักษาสถานภาพการศึกษา ว่า “กำลังศึกษาอยู่” ระบบDSLจะแจ้งเตือน ให้ผู้กู้มารายงานสถานภาพ
    เมื่อพบว่าไม่มีการรายงานสถานภาพมาแล้ว 1 ปี (365 วัน) นับจากวันที่รายงานสถานภาพครั้งล่าสุด
    โดยจะแจ้งเตือนผ่าน Email และ Notification ให้ผู้กู้ยืมเข้าระบบเพื่อรายงานสถานภาพ
    โดยระบบจะมีให้ดาวน์โหลด กยศ. 204 เพื่อรายงานและลงนามรับรองโดยสถานศึกษาปัจจุบัน
    และสแกนข้อมูลเข้ามาในระบบ หากยังไม่ถึงระยะเวลา 365 วัน ฟังก์ชันการรายงานสถานภาพจะไม่ขึ้นค่ะ
    ดังนั้น ผู้กู้ยืมเงินยังไม่ต้องดำเนินการใดๆเพราะรายงานสถานภาพจะไม่มีปุ่มแจ้งเตือน ให้คลิกค่ะ

    การส่งรายงานสถานภาพ กยศ.204 และ กยศ.108
    หากผู้กู้ยืมเงินประสงค์รายงานสถานภาพด้วยตนเอง (กยศ. 204)
    หรือ รายงานข้อมูลผู้กู้ยืมเงิน (กยศ. 108) ผู้กู้ยืมเงินสามารถจัดส่งเอกสารดังกล่าว
    ไปที่ธนาคารที่ผู้กู้ยืมเงินเปิดบัญชีรับโอนเงินค่าครองชีพ (ธนาคารกรุงไทย และ/หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย)
    โดยการส่งไปรษณีย์ไปที่สำนักงานใหญ่

    1. บมจ.ธนาคารกรุงไทย ฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ
    อาคารสุขุมวิท ชั้น 14 เลขที่ 10 ถนนสุขุมวิท
    แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
    กรุงเทพมหานคร 10110

    2. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ฝ่ายนโยบายรัฐ
    เลขที่ 66 อาคารนวม ชั้น 20 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก)
    แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

    ทั้งนี้ การรายงานสถานภาพด้วยตนเอง (กยศ. 204)
    ผู้กู้ยืมเงินจะต้องไม่มียอดค้างชำระ

    กรณีผู้ใช้ถูกระงับบัญชี หรือลืมรหัสผ่าน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
    หากท่านมีความประสงค์เปลี่ยนแปลง / แก้ไขเบอร์โทรศัพท์
    ที่ใช้ในการลงทะเบียน ช่องทาง Mobile Application
    "กยศ. Connect" หรือช่องทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th
    ขอให้ทำหนังสือถึงกองทุนเพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ในการลงทะเบียน
    กยศ.Connect พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนชน (รับรองสำเนาถูกต้อง)
    โดยจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เข้ามาตามที่อยู่กองทุนหรือส่งเอกสารไฟล์ .pdf
    ทางอีเมล info@studentloan.or.th

    การพิจารณารายได้ต่อครอบครัว ให้พิจารณาจากรายได้รวมทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่สามารถนำรายจ่ายอื่นๆ มาหักลบ

    ใช้แบบฟอร์ม กยศ.108 (ดาวน์โหลดที่เว็บไซต์กองทุนฯ)
    กรอกรายละเอียดให้ถูกต้อง พร้อมเอกสารแนบที่เกี่ยวข้อง เช่น

    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    สำเนาหนังสือการเปลี่ยนชื่อ
    สำเนาทะเบียนบ้าน
    สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร

    *สำเนาเอกสารทุกฉบับ ต้องรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้กู้ยืม
    และนำส่งผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
    (บมจ.ธนาคารกรุงไทย และ/หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย)
    ชำระหนี้

    ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินกู้ยืม พร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ 1 ต่อปี
    โดยต้องคืน ให้กองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้

    ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้งวดแรก ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้
    การชำระหนี้งวดต่อๆไปให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินต้นคืน ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด
    พร้อมด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นที่คงค้าง
    ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี

    หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระค่าปรับ
    หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
    ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้
    หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด

    หมายเหตุ
    (ก)ให้ผู้กู้ยืมเงินไปติดต่อแสดงตน ขอชำระหนี้ และเลือกวิธีการผ่อนชำระเป็นรายปี
    หรือรายเดือนกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้ทุกสาขาก่อนที่จะครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี
    (ข)กรณีผู้กู้ยืมเงินยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาใด ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษา
    ต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษา และเลขบัตรประจำตัวประชาชน
    พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ของผู้กู้ไปแสดงทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา

    ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบยอดหนี้ได้ 2 วิธี คือ
    1. ผ่านช่องทาง Mobile Application "กยศ. Connect"
    2. ผ่านทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th

    แนวปฏิบัติสำหรับผู้กู้ยืมที่ถูกดำเนินคดี

    กรณีที่ 1 หากผู้กู้ยืมประสงค์ให้ถอนฟ้อง
    ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมจ่ายค่าทนาย และส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชีให้กองทุนพิจารณาถอนฟ้อง

    01.ชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมค่าทนาย ดังนี้
    1. ชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    2. ชำระค่าทนายความ 5,500 บาท ก่อนวันที่ศาลนัด 2 สัปดาห์ที่ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น
    โดยชำระผ่านระบบ Teller Payment (กยศ. code : 9067) (กรอ. code : 92707)

    02.ส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมแจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อกลับ ดังนี้
    1. ใบเสร็จการชำระหนี้ปิดบัญชี กยศ. หรือ กรอ.
    2. ใบเสร็จการชำระค่าทนายความ

    “ผู้กู้ กยศ.” ส่งให้แก่ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด
    Fax: 0 2261 3811 โทรศัพท์ 0 2261 3739 ต่อ 8778

    “ผู้กู้ กรอ.” ส่งให้แก่ ฝ่ายคดีและบังคับคดี กยศ. ระบุ “ขอให้ถอนฟ้อง กรอ. หรือผู้กู้ยืมกลุ่มไกล่เกลี่ย”
    Fax: 0 2016 4940 โทรศัพท์ 0 2016 4888 ต่อ 550 – 587

    กรณีที่ 2 ผู้กู้ยืมที่ไม่สามารถชำระหนี้เพื่อถอนฟ้องได้ ผู้กู้และผู้ค้ำประกันทุกคนจะต้องไปศาล

    01.เจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในชั้นศาล กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไปตามที่ศาลนัดหมาย สามารถขอผ่อนชำระหนี้รายเดือนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 9 ปี
    •กรณีบุคคลใดบุคคลหนี่งไม่สามารถไปศาลได้ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องให้บุคคลที่บรรลุ นิติภาวะทำแทนได้

    02.กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไม่ไปตามที่ศาลนัด "ศาลจะสั่งพิพากษาชำระหนี้ทั้งจำนวน"
    โดยจะส่งคำบังคับแจ้งให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นใน 30 วัน หลังจากได้รับคำสั่งศาล

    สามารถทำได้ โดยแบ่งชำระให้แล้วสร็จก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้ประจำปี ที่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย / ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ทุกสาขา ซึ่งยอดที่แบ่งชำระรวมแล้วเงินต้นจะต้องไม่น้อยกว่ายอดที่กำหนดให้ในแต่ละปี
    อื่นๆ

    กรณีที่ผู้กู้ยืมถึงแก่ความตายให้สัญญากู้ยืมเงิน หน้าที่ และความรับผิดชอบ
    ที่ผู้กู้ยืมเงินมีต่อกองทุนเป็นอันระงับไป โดยให้ญาติ
    แจ้งธนาคารกรุงไทย/ธนาคารอิสลามฯ ทราบ
    โดยยื่นเอกสารหลักฐานเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ ดังนี้​

    - สำเนาใบมรณบัตรของผู้กู้ยืมเงิน​
    - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืมเงิน​
    - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืม (ถ้ามี)​
    - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง.

    ผู้กู้ยืมจะต้องยกเลิกแบบคำขอกู้ยืมผ่านระบบออนไลน์ก่อน จึงจะยื่นขอกู้ยืมใหม่ได้ แต่ถ้าสถานศึกษานั้นๆ
    มีการบันทึกกรอบวงเงินและอนุมัติสัญญาแล้ว สถานศึกษาเก่าต้องยกเลิกสัญญากู้ยืมผ่านระบบ
    e-Studentloan และส่งแบบยกเลิกสัญญาให้กับธนาคารในปีนั้นๆ แล้ว จึงสามารถขอยื่นกู้ยืม
    ณ สถานศึกษาแห่งใหม่ โดยไม่เสียสิทธิการกู้ในปีนั้น

    นักศึกษาสามารถเดินทางมาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เมื่อเข้ามาในมหาวิทยาลัยของเรา จะมีหน่วยรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถสอบถามเส้นทาง หรือนั่งรถบริการไฟฟ้าที่มีอยู่ประจำเส้นทางในพื้นที่จุดให้บริการ การส่งเอกสารกู้ยืมเงิน กยศ. ติดต่อได้ที่ ห้องกยศ.บริเวณชั้น 1 อาคารกิจการนักศึกษา

    Location:

    กยศ. กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 85 ม.3 ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

    Call:

    034-106-900 ต่อ 3388